ระวัง Scam ภาพรูสยองบนผิวหนัง เล่นกับความกลัว "รู" ของคน
มิตรรักนักเฟซบุ๊ก หลายคนกำลังถูก Scam เล่นงาน โพสต์วิดีโอสุดพิลึก อ้างว่าเป็นโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดรูพรุน ซึ่งภาพแบบนี้ทำให้ผู้คนเกิดอาการกลัว หรือ Panic attack ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ขณะที่หลายคนตกเป็นเหยื่อระบาด เพราะอดที่จะอยากรู้ไม่ได้ว่ามันคืออะไร
อาการกลัวรูพรุนบนผิวหนัง หรือ บนพื้นผิวอื่นๆของคน ถูกจำกัดความว่าเป็นอาการ Trypophobia ซึ่งนักจิตวิทยาจำนวนมากเพิ่งจะเริ่มทำการศึกษาอย่างลึกซึ้งเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ที่ภาพตัดต่อ ของผิวหนังมนุษย์และรูพรุน ถูกแพร่กระจายทางเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงในปัจจุบันที่ถูกแพร่หลายในโซเชียลมีเดีย ทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง ไปจนถึงวิดีโอที่เป็น Scam ซึ่งหวังจะเจาะข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โซเชียลแพลตฟอร์มนั้นๆ ในที่นี้ที่ผู้เขียนเห็นบ่อยคือบน Facebook โดยภาพเหล่านั้นสร้างความสั่นประสาทให้กับผู้คนที่ได้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อ จนบางคนคันไม้คันมืออยากคลิกเพื่อศึกษาข้อมูลทันทีโดยลืมคิดว่านี่คือการเจาะข้อมูลประเภท Phishing
เว็บไซต์ CBS news ในสหรัฐเคยหยิบผลงานวิจัยในจุลสาร Psychological Science มาอธิบายปรากฎการณ์การกลัวรูพรุนนี้ ซึ่ง Geoff Cole และ Arnold Wilkins นักวิจัยจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สมอง แห่งมหาวิทยาลัย Essex เคยเผยผลการศึกษาการมองภาพถ่ายในเว็บไซต์ Trypophobia.com ซึ่งรวบรวมภาพที่ทำให้คนเกิดอาการขนลุกขนพองไว้จำนวนมาก ว่าที่จริงคนไม่ได้กลัวรูพรุนเหล่านั้น แต่สมองสั่งการอัตโนมัติให้เกิดการระวังภัยขึ้น ด้วยการทำให้เกิดความกลัว แต่เป็นการกลัวอะไรนั้นยังเป็นที่ต้องขบคิดและวิจัยกันต่อไป
อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ได้ชมภาพเหล่านั้น ส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขากลัวว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอะไรอาศัยอยู่ในรูเหล่านั้น ไม่ว่าสิ่งที่พวกเขาได้เห็นจะเป็นรูพรุนบนผิวหนัง รูพรุนบนพื้นผิวไม้ รูพรุนของฟองน้ำ ไปจนถึงรูพรุนของรวงผึ้ง
ตัวอย่างภาพตัดต่อที่ทำให้เกิดอาการกลัวรูพรุน ซึ่งไม่สยองจนเกินไปนัก
ภัยที่ใกล้ตัวที่สุดสำหรับผู้คนออนไลน์ ไม่ใช่รูพรุนเหล่านั้น แต่เป็น Scam โพสต์นั่นเอง ซึ่งBlog ในเว็บไซต์ Phishlist.com ซึ่งรวบรวมการเตือนภัยเจาะข้อมูลประเภท Phishing โดยเฉพาะ แจ้งเตือนโพสต์ล่าสุดที่จั่วหัวว่า 18+ You will never use this shampoo after viewing this video พร้อมภาพสยองที่คล้ายกับรูพรุนจำนวนมากบนผิวหนัง และดูเหมือนจะมีตัวอะไรอาศัยอยู่ในนั้นว่าเป็นโพสต์ประเภท Scam และแนะนำให้
1. รีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดทันทีเมื่อได้รับรายงานว่ามีการโพสต์ภาพดังกล่าวบนสเตตัสของเราโดยเราไม่รู้ตัว
2. Uninstall แอปลิเคชั่นบน Facebook ที่น่าสงสัยออกจากแอคเคาต์ของตัวเอง
3.ใช้ซอฟต์แวร์ Anti-Malware และอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ
Image source : Flickr/Elias Gayles
สนับสนุนเนื้อหา: www.voicetv.co.th ภาพประกอบเพิ่มเติม: one55.blogspot.com
http://hitech.sanook.com/
Facebook
Blogger Comment