งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าชายเตี้ยมีอายุยืนยาวกว่า

ตามงานวิจัยชิ้นใหม่ที่อาศัยข้อมูลจากโครงการ Kuakini Honolulu Heart Program (HHP) และงานวิจัยของผู้สูงอายุแถบเอเชียและโฮโนลูลู Kuakini Honolulu-Asia Aging Study ได้สรุปไว้ว่า “คนตัวเตี้ยและการมีอายุยืนยาวนั้นมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับชายชาวญี่ปุ่นทั้งหลาย”



Dr. Bradley Willcox หนึ่งในคณะวิจัยที่ทำการศึกษานี้และยังเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัย University of Hawaii (UH) John A. คณะแพทยศาสตร์ (Burns School of Medicine) สาขาการแพทย์เกี่ยวกับผู้ป่วยสูงอายุ ได้กล่าวว่า “พวกเราได้แบ่งคนที่จะทำการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งก็คือ คนที่สูงไม่เกิน 5 ฟุต 2 นิ้วและสูงมากกว่า 5 ฟุต 4 นิ้ว เราพบว่า ประชาชนที่เตี้ยกว่า 5 ฟุต 2 นิ้ว มีอายุยืนยาวกว่า ซึ่งสังเกตเห็นได้ตลอดตั้งแต่ความสูง 5 ฟุต ถึง 6 ฟุต ยิ่งคุณสูงเท่าไหร่ คุณยิ่งอายุสั้นลงเท่านั้น”

คณะวิจัยจากโรงพยาบาล Kuakini Medical Center ที่ UH John A. คณะแพทยศาตร์ Burns และองค์กรทหารผ่านศึกของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ชื่อว่า PLOS ONE

คณะวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า คนที่เตี้ยกว่าดูเหมือนจะมียีนตัวหนึ่งที่คอยปกป้องให้มีอายุที่ยืนยาว ที่ชื่อว่า FOXO3 ที่มีรูปแบบเฉพาะในการเพิ่มอายุขัย ยีนนี้จะทำให้ร่างกายมีขนาดเล็กในระหว่างการเจริญเติบโตช่วงต้นๆ และทำให้อายุขัยยืดยาวออกไป นอกจากนี้คนที่ตัวเตี้ยกว่าดูเหมือนจะมีระดับอินซูลินในเลือดต่ำกว่าและป่วยเป็นมะเร็งได้น้อยกว่าคนตัวสูง

Dr. Willcox กล่าวต่ออีกว่า “การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงขนาดของร่างกายเข้ากับยีน พวกเราเคยรู้จักแต่ต้นแบบของวัยชราในสัตว์ พวกเราไม่เคยรู้ว่าในมนุษย์นั้นมันเป็นอย่างไร พวกเรานั้นมียีนที่ว่านี้เหมือนและแตกต่างกันบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับหนู พยาธิตัวกลม แมลงวันหรือแม้กระทั่งยีสต์ ก็มียีนรูปแบบนี้และมันก็มีความสำคัญในการที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์เหล่านี้มีอายุขัยที่ยืนยาว

Dr. Willcox ยังชี้ให้เห็นอีกว่า มันไม่มีช่วงส่วนสูงที่จำเพาะหรือช่วงอายุที่สามารถใช้เป็นตัวแบ่งแยกในการศึกษา เหตุผลบางส่วนก็เพราะว่ามันไม่สำคัญว่าคุณสูงเท่าไหร่ ตราบใดที่คุณสามารถรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่จะชดเชยการที่มียีน FOXO3 แบบทั่วไปมากกว่ายีน FOXO3 ที่มีรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมการมีอายุยืนยาว

Kuakini HHP ได้เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ปี 1965 โดยอาศัยชายชาวอเมริกาที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่นจำนวน 8,006 ราย ที่เกิดระหว่างปี 1900 ถึง ปี 1919 รูปแบบการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพของชายเหล่านี้ถูกติดตามอย่างใกล้ชิดและถูกศึกษาโดยคณะวิจัยตลอดมาเป็นเวลาหลายปี โปรแกรม Kuakini HHP เป็นการศึกษาเดียวที่เกี่ยวกับการติดตามพัฒนาการของบุคคลในช่วงเวลาหลายๆ ปีของชายเชื้อสายอเมริกา-ญี่ปุ่น ซึ่งรวมไปถึงการอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยาและข้อมูลทางสุขภาพของประชากรหนึ่งรุ่นเป็นเวลาเกือบ 50 ปี จากทัศนคติทั่วทุกมุมโลก มันถือว่า เป็นงานวิจัยเพียงหนึ่งเดียวที่ครอบคลุม สถิติประชากรที่เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของบุคคลในช่วงเวลาหลายปี รูปแบบการดำเนินชีวิตและข้อมูลทางการแพทย์ รวมไปถึงการรวบรวมตัวอย่างทางชีววิทยาจากกลุ่มชายชรารุ่นหนึ่งที่ใหญ่มาก

ดร. Willcox ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เหตุผลหนึ่งที่ทำไม Honolulu นี้เป็นการศึกษาหนึ่งที่สมบูรณ์แบบ ก็เพราะว่า พวกเรามีรัฐที่มีอายุยาวนานที่สุดในประเทศ ซึ่งมีประชากรยังคงมีชีวิตอยู่ โดยบริเวณส่วนใหญ่คือ ในแถบฮาวาย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้พวกเราสามารถดำเนินการศึกษาได้อย่างยาวนานที่สุดและเป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของชายชราในโลกนี้ด้วยโครงการ Kuakini Honolulu Heart Program จากการศึกษาชายโดยประมาณ 1,200 ราย ซึ่งมีอายุยืนมากกว่า 90 ถึง 100 ปี และประมาณ 250 รายจากชายกลุ่มนี้ยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vnews/448942
Share on Google Plus

About แบ่งปันสาระ

แบ่งปันสาระ แหล่งรวมข่าวสาร,บันเทิง,สาระน่ารู้,Life Style , สุขภาพ,โรคภัย,สมนไพร,
    Facebook
    Blogger Comment